วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 2 ระบบภูมิคุ้มกัน

สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา ทั้งภายในและภายนอกร่างกายเต็มไปด้วยจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่จุลินทรีย์ที่อยู่รอบตัวเราเหล่านี้ไม่ใช่เชื้อก่อโรคแต่ประการใด แต่ก็มีจุลินทรีย์อีกมากมายที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อ เรียกว่าเชื้อโรคเพื่อป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคเหล่านี้ มนุษย์เรามีระบบภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่อย่างทรงประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อโรคออกไป หากภูมิคุ้มกันบกพร่อง แม้จะพัฒนายาต้านจุลชีพที่ดีเลิศเพียงใด ก็อาจจะไม่สามารถรักษาชีวิตคนเราจากโรคติดเชื้อไว้ได้ เพราะการที่จะหายจากโรคติดเชื้อได้นั้น ภูมิคุ้มกันในร่างกายเป็นผู้ช่วยตัวสำคัญที่สุด
ระบบภูมิคุ้มกัน หรือ Immune system คือระบบที่คอยปกป้องร่างกายของเราจากสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่อาจเข้ามาทำอันตรายร่างกายเราได้ เช่น เชื้อโรคชนิดต่างๆ ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต รา พยาธิ รวมถึงสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เช่น เซลล์ที่กำลังเจริญเติบโตไปเป็นมะเร็ง อวัยวะของผู้อื่นที่ปลูกถ่ายเข้ามาในร่างกาย การได้รับเลือดผิดหมู่ สารก่อภูมิแพ้ ฯลฯ สิ่งต่างๆ เหล่านี้มีคุณสมบัติเป็นสิ่งแปลกปลอมที่ร่างกายยังไม่รู้จัก เรียกว่า antigen

 
 
 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ : นักศึกษาสามารถ


1. บอกชนิดของภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะและแบบจำเพาะของร่างกายได้

2. อธิบายกลไกการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ช่วยป้องกันโรคได้

3. อธิบายกลไกการทำงานที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ก่อให้เกิดโรคได้

4. อธิบายกระบวนการของ Immunization ได้
            5. รู้จักหลักการทดสอบในห้องปฏิบัติการทางภูมิคุ้มกันวิทยาที่ใช้สำหรับวินิจฉัยโรค

งานก่อนเรียน
ให้นักศึกษาค้นคว้าและตอบคำถามในงานต่อไปนี้ให้สมบูณณ์ที่สุด ส่งวันที่ 29 สิงหาคม 2557 เวลา 08.30 น.
ดาวน์โหลดงานก่อนเรียนที่นี่...คลิก

ดาวน์โหลดเกอสารก่อนเรียนที่นี่
1.บทนำระบบภูมิคุ้มกัน

2.ส่วนที่ทำหน้าที่ระบบภูมิคุ้มกัน
3.กลไกระบบภูมิคุ้มกัน
4.Immunomemmory

ขอให้ทุกคนตั้งใจและสนุกกับการอ่าน..ทำการบ้าน..เจริญเจริญทุกคน

ดาวน์โหลดเอกสารการทำรายงานเพื่อนำเสนอ กลุ่มละ 5 คน ที่นี่

วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 1 ในบทแรกนี้ ครูมีเป้าหมายให้นักศึกษาทุกคนได้เรียนรู้ความเป็นมาของการศึกษาด้านจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา รู้จักนักวิทยาศาสตร์และนักการศึกษาสาขาต่างๆที่มีคุณูปการต่อวิชานี้ เรียนรู้ลักษณะของจุลชีพ รวมทั้งการเรียกชื่อต่างๆ ซึ่งปัจจุบันวิชานี้สามารถตอบโจทย์ของการเกิดโรคต่างๆที่เป็นพื้นฐานในมนุษย์ได้แทบทั้งสิ้น แต่ขณะเดียวกันเชื้อก่อโรคเหล่านี้ก็มีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาขณะที่มนุษย์ก็มีพฤติกรรมที่ทำลายสุขภาพตนเองตลอดเวลา การเรียนการสอนในวิชานี้จำเป้นต้องพัฒนาอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน

หัวข้อการเรียนการสอน

วัตถุประสงค์: นักศึกษาสามารถ
   1. อธิบายประวัติและพัฒนาการของวิชาจุลชีววิทยาได้
  
2. บอกผลงานของนักจุลชีววิทยาที่สำคัญและเกี่ยวข้องได้
  
3. อธิบายทฤษฎีที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับจุลชีววิทยาได้
   4. จําแนกชนิดของสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ชนิดต่างๆได้
   5. อธิบายการเรียกชื่อลินทรีย์ชนิดต่างๆได้
   6. อธิบายการใช้ประโยชน์ของวิชาจุลชีววิทยา


อกสารประกอบการสอน (ดาวน์โหลด คลิกที่นี่)
1. Power point : Introduction
2. Power point : History

3. Power point : Type of Microbiology
4. Power point : Developing of Microbiology
5. Power point : Namocrature
6. Power point : Future




กิจกรรมการเรียนการสอน คลิกดาวน์โหลดด้านล่าง



วิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยาของมนุษย์ รหัสวิชา 170-200 จำนวน 3 หน่วยกิต


สวัสดีนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 170-200 จุลชีววิทยาและปรสิตวิทยาของมนุษย์ วิชานี้เปิดสอนทุกวันศุกร์โดยวันแรกในวันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม 2557 สื่อการสอนนี้จะเป็นสื่อกลางสำหรับครูผู้สอนและผู้เรียนในการทำกิจกรรมการเรียนการสอน การทำและส่งการบ้าน การสอบถามปัญหาจากการเรียนการสอนตลอด 24 ชั่วโมง อันดับแรกขอให้นักศึกษาได้เข้ามาศึกษาเค้าโครงรายวิชา ว่าวิชานี้เราจะศึกษาเรื่องอะไรกันบ้าง โดยเป้าหมายต้องการให้นักศึกษาได้อะไรและครูจะวัดผลสัมฤทธิ์สำหรับการเรียนวิชานี้อย่างไร โปรดดาวน์โหลด เค้าโครงรายวิชาที่นี่ ครับ



คอยพบกับการเรียนการสอนในสัปดาห์ที่ 1 ที่นี่ เร็วๆนี้